วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
กิจกรรมและบริการที่น่าสนใจใน วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สนุกสุดเหวี่ยงตามเสียงหัวใจ
พักผ่อนเต็มที่ไม่มีลิมิต
ฮือฮาตามกระแสแต่ว่าดี
เดินทางสบายสไตล์คุณ
อร่อยเด็ดเจ็ดย่านน้ำ
สำรวจเพิ่มเติม
ความคิดเห็นที่นักท่องเที่ยวมีต่อ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สถานที่ใกล้เคียง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเปิดให้บริการกี่โมง?
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเหมาะสำหรับเด็กและครอบครัวหรือไม่?
วิธีใดในการเดินทางไปยังวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารที่สะดวกที่สุด?
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีงบประมาณจำกัดหรือไม่?
วันไหนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชม วัดระฆัง?
ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปยัง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ประวัติความเป็นมาของวัดระฆัง
วัดระฆังมีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกให้เป็นพระอารามหลวง เมื่อขุดพบระฆังโบราณจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆัง
วัดนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชและเป็นสถานที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก โดยอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราช
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระมหาเถระผู้ทรงคุณค่าเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ในรัชกาลที่ 4-5 และเป็นผู้ปรับปรุงบทพระคาถาชินบัญชรให้สมบูรณ์ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์สำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดระฆังโฆสิตารามจึงมีความสำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรมของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างยิ่ง
ไฮไลท์ของวัดระฆัง
พระอุโบสถทรงรัชกาลที่ 1: ประดิษฐานพระประธานหลวงพ่อยิ้มรับฟ้า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิที่งดงาม และได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 5
ภาพจิตรกรรม: ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามวาดโดยพระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 6
พระปรางค์วัดระฆัง: ได้รับการยกย่องว่าทำถูกแบบแผนที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยเป็นพระปรางค์แบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น
หอพระไตรปิฎก: เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม เคยเป็นพระตำหนักของรัชกาลที่ 1 ภายในมีตู้พระไตรปิฎกเขียนลายรดน้ำขนาดใหญ่ 2 ตู้
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายที่คุณสามารถเข้าร่วมได้ เช่น กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิฐษฐานภายในวัด เยี่ยมชมจิตรกรรมฝาผนัง เรียนรู้พุทธประวัติ ทำบุญ ตักบาตร ให้อาหารปลา ฯลฯ