ประวัติความเป็นมาของชุดไทย
ชุดไทยนั้นเป็นชุดประจำชาติของไทย ด้วยการออกแบบและการตัดเย็บอย่างประณีต รวมไปถึงการสรรสร้างลวดลายบนผืนผ้าไหมไทยอันงดงาม ที่เกิดจากงานฝีมือของช่างไทยที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนใคร จึงทำให้ชุดไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ยากต่อการเลียนแบบ
ชุดไทยพระราชนิยมนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นสืบเนื่องมาจากที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ พระองค์ได้ส่งเสริมผ้าไทยอย่างจริงจัง ไปจนถึงกำหนดมาตรฐานเครื่องแต่งกายที่เป็นผ้าไทย และชุดประจำชาติไทยที่สามารถแสดงออกถึงเอกลักษณ์อันวิจิตรตระการตา รวมไปถึงความงดงามด้วยลวดลายไทยอันอ่อนช้อย การเย็บปักและทอลงบนผืนผ้าอย่างประณีตบรรจง โดยที่ชุดไทยนั้นถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกันดังนี้
ประเภทของชุดไทย
- ชุดไทยเรือนต้น
เป็นชุดไทยพระราชนิยมแบบหนึ่ง นิยมใส่ในโอกาสลำลอง ไม่เป็นพิธีการมากนัก เช่น งานทำบุญต่างๆ ลักษณะเด่นของชุดไทยประเภทนี้ก็คือผ้าซิ่นจะมีริ้วตามยาวหรือขวางยาวจรดข้อเท้า สีของเสื้อจะกลมกลืนหรือตัดกันกับผ้าซิ่นก็ได้ กระดุมจะต้องมีห้าเม็ด คอกลมไม่มีขอบ ส่วนเครื่องประดับนิยมติดเข็มกลัดขนาดใหญ่ สร้อยคออาจะเป็นสร้อยไข่มุกหรือสร้อยทองก๋ได้ ไม่ต้องคาดเข็มขัด
- ชุดไทยจิตรลดา
สำหรับใส่ในงานพิธีตอนกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยง ผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าคนละท่อนกับตัวเสื้อ แขนยาว ผ่าอก คอกลม ส่วนเครื่องประดับมักจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ติดกระดุมทอง และต่างหูให้สวยงาม ไม่ต้องคาดเข็มขัด
- ชุดไทยอมรินทร์
สำหรับใส่ในงานพิธีตอนค่ำ ใช้ผ้ายกไหมที่มีทองแถบหรือยกทองทั้งชุด แขนสามส่วน คอกลมกว้าง ไม่มีขอบตั้ง ไม่ต้องคาดเข็มขัด ส่วนเครื่องประดับจะเป็นชุดสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กระดุมทอง และต่างหู
- ชุดไทยบรมพิมาน
สำหรับใส่ในงานพิธีตอนค่ำ เป็นชุดติดกันกับผ้าซิ่น เสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ใช้เข็มขัดยกผ้าไหมหรือยกทอง ซิ่นยาวจรดข้อเท้าจับยกจีบข้างหน้า ที่ชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนเครื่องประดับจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ เกี้ยวประดับผมและต่างหู
- ชุดไทยดุสิต
เป็นชุดไทยที่เจ้าสาวนิยมใส่กัน เน้นการปักตกแต่งเสื้อ ตัวเสื้อเป็นคอกลมกว้าง ไม่มีแขน ผ่าหลังปักแต่งลวดลาย ส่วนผ้าซิ่นยกไทยหรือทองคาดชายพกด้วยเข็มขัดไทย ส่วนเครื่องประดับจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู และเข็มขัด โดยใช้เครื่องประดับที่เข้าชุดกัน
- ชุดไทยจักรี
เป็นชุดไทยที่นิยมใส่ในพิธีเต็มยศงานราตรี ผ้านุ่งจับจีบยกข้างหน้า มีชายพก คาดเข็มขัดไทย และห่มสไบ ท่อนสไบจะเย็บติดกับซิ่นหรือแยกต่างหากก็ได้ โดยที่จะต้องเปิดบ่าข้างหนึ่งและอีกข้างหนึ่งคลุมไหล่ ส่วนเครื่องประดับจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยสังวาล รัดแขน ต่างหู และเข็มขัด
- ชุดไทยศิวาลัย
เป็นชุดไทยที่นิยมใส่ในโอกาสพิเศษ ตัวเสื้อจะมีแขนยาว คอกลม มีขอบตั้งเล็กน้อย ผ่าหลัง ใช้ผ้ายกไหมหรือยกทอง ตัดแบบติดกัน ซิ่นปักลายไทยยาวจีบ หน้านางมีชายพก ให้ใช้เข็มขัดไทยคาด
- ชุดไทยจักรพรรดิ
สำหรับใส่ในงานเลี้ยงช่วงค่ำ ชุดไทยประเภทนี้ใช้ผ้ายกทั้งตัว มีเชิงยกไหมทองหรือดิ้นทอง ผ้าซิ่นจีบ หน้านางมีชายพก คาดเข็มขัดไทย และห่มสไบ ส่วนเครื่องประดับมักจะเป็นสร้อยคอ สร้อยสังวาล สร้อยข้อมือ เข็มขัด รัดเกล้า และต่างหู
- ชุดไทยประยุกต์
สำหรับใครที่กำลังมองหาชุดไทยที่ใส่ง่าย ชุดไทยแบบประยุกต์เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ทางร้านจะมีให้เลือกทั้งเสื้อแขนยาวหรือชุดสไบ จับคู่กับผ้าซิ่นไหมไทยที่มีลวดลายงดงาม โดยการนำเอาชุดไทยจักรีและชุดไทยจักรพรรดิมาประยุกต์ให้ดูโมเดิร์นและไม่เหมือนใคร
แนะนำการเช่าชุดไทยให้เหมาะกับคุณ
สมัยนี้มีร้านเช่าชุดไทยให้บริการมากมาย ชุดไทยราคาถูกไม่แพง ส่วนมากแล้วเรานิยมเช่าชุดไทยเพื่อไปงานแต่ง ชุดเพื่อนเจ้าสาวหรือเพื่อนเจ้าบ่าว โดยที่ทางร้านเช่าชุดไทย จะมีทีมงานที่ผ่านการฝึกอบรมทางด้านชุดไทยมาเป็นอย่างดี เพื่อคอยให้คำปรีกษาและแนะนำตลอดการเข้าใช้บริการกับทางร้าน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้ใส่ชุดไทยที่เหมาะกับคุณมากที่สุด ทั้งนี้มีสิ่งที่ควรรู้ก่อนการเช่าชุดไทย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ชุดไทยให้สวยเหมาะกับรูปร่างและสีผิว รวมไปถึงทริคเล็กๆ น้อยๆ ก่อนการเช่าชุดไทย
เลือกชุดไทยให้เหมาะกับรูปร่าง
- สาวสูงเพรียว: คุณสามารถสวมใส่ชุดไทยได้ทุกรูปแบบ แต่แนะนำให้ใส่ชุดที่พอดีเข้ารูป เน้นช่วงคอให้ดูคอยาวระหง และเลือกเครื่องประดับให้เข้ากับชุดไทยที่คุณเลือก
- สาวอวบ: ควรเลือกชุดไทยที่จะช่วยอำพรางให้รูปร่างของคุณดูเพรียวขึ้น เช่น ชุดไทยที่มีสไบหน้าแคบหรือค่อนข้างโปร่ง นุ่งผ้านุ่งแบบจับจีบหน้านาง และคาดด้วยเข็มขัด การคาดเข็มขัดจะทำให้คุณดูมีส่วนเว้นส่วนโค้งมากยิ่งขึ้น
- สาวตัวเล็ก: สำหรับสาวที่มีรูปร่างเล็ก ไม่สูงมาก ที่จริงสามารถเลือกสวมใส่ชุดไทยได้เกือบทุกรูปแบบ แต่ให้ระวังเรื่องความยาวของสไบไม่ให้ยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้ดูเตี้ยยิ่งกว่าเดิม และเสริมส้นด้วยรองเท้าส้นสูงสักหน่อย
เลือกชุดไทยให้เหมาะกับสีผิว
- สาวผิวสีเข้ม: สำหรับสาวที่มีผิวสีแทนไปจนถึงเข้ม ควรใส่ชุดไทยโทนสีอ่อนหรือสีพาสเทล เช่น สีเบจ สีครีมทอง สีครีม หรือสีครีมน้ำตาล หรือจะเป็นสีสันโทนร้อน เช่น สีแดงอมส้ม สีโทนเหล่านี้จะช่วยขับให้ผิวสีเข้มของคุณดูนวลผ่องขึ้นทันตา
- สาวผิวขาวเหลือง: สำหรับสาวที่มีผิวขาวเหลืองจะเหมาะกับชุดไทยโทนสีอุ่น แต่เน้นความสว่างสดใส เช่น สีครีม สีทอง สีแดง-ทอง สีชมพูอมส้ม และประดับด้วยเครื่องประดับสีทอง
- สาวผิวขาวอมชมพูไปจนถึงซีด: สำหรับสาวที่มีผิวขาวมากควรหลีกเลี่ยงโทนสีพาสเทล เพราะจะทำให้สีผิวของคุณดูซีดลงกว่าเดิม สีที่เหมาะกับคุณจะเป็นสีโทนเย็นหรือสีฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีมชมพู สีแดงอมชมพู หรือสีเงิน ประดับด้วยเครื่องประดับสีทองหรือสีเงิน เพิ่มความเปล่งปลั่ง